วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต


Active X
พัฒนาโดยบริษัท Microsoft เป็น OLE (Object Linking and Enbedding) ที่จะช่วยให้คุณใช้งานไฟล์รูปแบบ Word Excel Access กับอินเตอร์เน็ตได้ โดยแบ่ง 2 ส่วนคือ ส่วนของซอฟต์แวร์ (ActiveX Control) เป็น OLE ที่มีการทำงานตามข้อกำหนดของ ActiveX และส่วนแอพพลิเคชั่น (ActiveX container) โดยการนำเอา ActiveX control มาประยุกต์ใช้งานนั่นเอง ซึ่งจะเป็นรูปแบบ VBScript หรือ JavaScript ก็ได้
ASP
ASP (Active WebServer Page) เป็นสคริปต์ที่ทำงานอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีส่วนขยายเป็น .asp ปกติมักจะนำมาใช้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ WindowsNT โดยอาศัยการควบคุมด้วยโปรแกรมอินเตอร์เน็ต Information เว็บเซิร์ฟเวอร์ (IIS) ของไมโครซอฟท์ ลักษณะของไฟล์ *.asp จะประกอบด้วยโค้ดที่แทรกไว้ระหว่างโค้ดภาษา HTML การทำงาน ASP นั้นจะใช้การ เรียกใช้จากฝั่งผู้ใช้งานเว็บไซต์ด้วยบราวเซอร์โดยจะมีการประมวลผลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่จะแสดงผลที่บราวเซอร์ ช่วยลด ความอืดอาดในการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงได้มาก

Browser
บราวเซอร์ (Browser Web Browser) เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดดูไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยาย เป็น *.htm *.html *.asp *.php *.pl ส่วนรูปภาพจะเป็นรูปแบบ *.jpg *.gif *.png เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ ระหว่างผู้ใช้งานอินเตอรืเน็ตกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนอื่น ๆ หรือระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้ สามารถเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทั้งที่เป็นข้อความหรือรูปภาพได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกและยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้อีก มากมาย เช่น บริการ E-mail รับส่งข้อมูลผ่านบราวเซอร์ได้ ในปัจจุบันยังสามารถที่จะฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุ หรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสดผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยบราวเซอร์และโปรแกรมเสริม(Plug-in)ต่าง ๆ ได้อีกด้วย มีโปรแกรมบราวเซอร์หลายโปรแกรม เช่น Internet Exporer (IE) , Netscape , Opera

CGI
CGI (Common Gateway interface) เป็นการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโดยเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้จัดเตรียมโปรแกรม CGI ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบข้อมูลที่จะส่งไปยังผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในขณะ ที่ยังสามารถรับข้อมูลจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เช่น การใช้งานห้องสนทนาที่จะรับข้อความมาจากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต และส่งข้อความของเขาและคนอื่น ๆ มาแสดงที่บราวเซอร์ได้ด้วย
เบื้องหลังของ CGI จะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาสคริปต์หลายอย่าง เช่น โปรแกรม Perl ASP PHP เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนประกอบ พื้นฐาน ดังนี้
GET -- ข้อมูลจะถูกส่งไปกับ query string ของ URL จะส่งข้อมูลใน query_string ไปยัง HTTP เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงาน อยู่ในเครื่อง
POST -- ข้อมูลจะถูกส่งไปในลักษณะของ message body ติดไปกับ request message ที่ถูกส่งโดย client ไปยังเว็บ เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่า GET แต่สามารถใช้กับข้อมูลที่ซับซ้อนกว่าได้ดีกว่า
ความแตกต่างระหว่าง GET และ POST โดยทั่วไป GET ใช้สำหรับเรียกไฟล์ หรือทรัพยากรอื่น ๆ จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดย สามารถมี parameter ระบุไว้ตามที่ต้องการได้ ในกรณีของการรับข้อมูล จาก form URL ของการ GET จะเป็น GET คือวิธีการที่บราวเซอร์ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูล เช่น เอกสาร HTML หรือรูปภาพและยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลจาก form ได้ด้วย ถ้าหากว่าข้อมูลนั้นไม่มากจนเกินไป (ข้อจำกัดของขนาดข้อมูลขึ้นอยู่กับบราวเซอร์) ผลกระทบของการใช้วิธีการ GET คือบราวเซอร์และ proxy จะสามารถจดจำผลลัพธ์ของการ GET ไว้ใน cache ได้
เพราะฉะนั้นในการเรียกใช้โปรแกรมด้วยวิธี GET หลายอาจจะได้ผลลัพธ์เก่าออกมาก็เป็นได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้วิธี GET ถ้าหากว่าต้องการที่จะเก็บข้อมูลสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมแต่ละครั้ง เฉพาะเป็นครั้ง ๆ ไป หรือกับโปรแกรม CGI ที่ต้องการ ที่จะนำเสนอข้อมูลที่ใหม่ (update) เสมอทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โดยปกติแล้ว POST ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อประมวลผล เมื่อ HTML form ส่งออกไปยังเว็บเซิร์ฟเวอรืด้วยวิธีการ POST ข้อมูลของคุณจะแนบไปกับส่วนท้ายของข้อมูล เรื่องขอใช้งานโปรแกรม เวลาใช้งานวิธี POST อาจจะไม่ง่ายและเร็วเท่ากับการใช้วิธี GET แต่สามารถทำงานกับข้อมูลที่ สลับซับซ้อนได้ดีกว่า คุณสามารถส่งแฟ้มข้อมทูลไปกับวิธีการ POST ได้ด้วยเช่นกัน ขนาดของข้อมูลที่จะส่งจะไม่ถูกจำกัด เหมือนวิธีการ GET
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เขียนโปรแกรม CGI แล้ว ทั้งวิธีการ GET และ POST ต่างก็ไม่ยากที่จะใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ข้อดีของ วิธีการ POST คือ วิธีการ POST ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไม่จำกัดขนาด และสามารถนับจากโปรแกรม CGI ได้จริง ๆ ว่ามีการ เรียกใช้โปรแกรมกี่ครั้ง ส่วนข้อดีสำหรับการใช้วิธี GET ข้อมูลจากการกรอก form ทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็น URL เดียว สามารถ จะใช้ผ่าน hyperlink หรือ bookmark ได้โดยไม่ต้องกรอกฟอร์มทุกครั้ง

Chat
Chat นั้นเป็นการสนทนาด้วยข้อความหรือแลกเปลี่ยนไฟล์กันแบบสด ๆ ผ่านทางอินเตอรืเน็ต (มักจะเรียกว่าแบบ Realtime หรือเรียกอีกชื่อว่า InterActive)ที่สามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทำให้ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากโดยมีโปรแกรม สำหรับการ Chat หลายตัว เช่น ICQ IRC mIRC Perch Odigo และอื่น ๆ

FTP
FTP (File Transfer Protocol , File Transfer Program) เป็นบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการโอนไฟล์ขึ้นไปไว้ที่ เว็บเซิร์ฟเวอรที่เรียกว่าการ upload และให้บริการโอนย้ายไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์มายังฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ เว็บไซต์อื่น ๆ ที่เรียกว่าการ Download โปรแกรมที่จะช่วยให้การ Upload download มีหลายตัวเช่น WS_FTP Flashget Download-Acc Cute-ftp เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการใช้งานโปรแกรม Telnet ในระบบปฏิบัติการ UNIX อีกด้วย

FAQ
FAQ (Frequently Asked Questions) ซึ่งก็คือการที่เว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทำการรวบรวมคำแนะนำดี ๆ ที่ได้รับจากผู้ที่เข้าชม เว็บไซต์หรือคำถามต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ถูกถามถึงบ่อย ๆ เอาไว้เพื่อให้ผู้ชมสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการ และรายละเอียด ต่าง ๆ ของ Web ที่ผู้ใช้อยากรู้

Homepage
สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตต่างตกแต่งเว็บเพจของตนให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ใฝ่รู้ทั้งหลาย เป็นที่ ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กลับมาเยี่ยมชมอีกหรือด้วยจุดประสงค์ที่ผู้ตั้งเว็บไซต์ต้องการ โดยเว็บเพจหน้าแรก ที่พบเมื่อเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นจะถูกเรียกว่า โฮมเพจ (Homepage) ซึ่งก็คือเอกสาร HTML ธรรมดาที่สามารถจะเข้าถึง ข้อมูลในเว็บไซต์ได้ มีจำนวนมากมักนิยมเรียกรวบเว็บไซต์สั้น ๆ ว่าโฮมเพจ ดังนั้น Homepage นั้นก็เสมือนเป็นประตู ที่จะเข้าไปสู่เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้น จริง ๆ แล้วโฮมเพจ เป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่งในเว็บไซต์ โดยทั่วไปในเมืองไทยมัก เรียกโฮมเพจแทนเว็บไซต์ เนื่องมาจากความคุ้นเคยมากกว่า

HTML
HTML (Hyper Text Marup Language) เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์ พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4 ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย

HTTP
HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกัน (Protocol) ระหว่างบราวเซอร์และ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง HTTP โปรโตคอลนั้นก็จะทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP อีกทีหนึ่งโดยที่เราเปิดโฮมเพจขึ้นมา บราวเซอร์จะ ติดต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอล HTTP และจะส่งที่อยู่ไฟล์ข้อมูลหรือที่เรียกว่า URL ที่ต้องการไป และอาจมี ีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ชื่อและรุ่นของบราวเซอร์ที่ใช้เปิดดูไฟล์ข้อมูลได้ จากนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลกับมาตามข้อกำหนดของ HTTP เช่น ขนาดของข้อมูล , วัน เวลาที่สร้าง และเมื่อบราวเซอร์ได้รับข้อมูลครบแล้ว การติดต่อจะสิ้นสุดทันที และหากหน้า เว็บเพจใดมีข้อมูลที่มีหลายไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพและเสียง ก็จะต้องมีการติดต่อไปหลายครั้ง และในแต่ละครั้งจะไม่เกี่ยวข้องกัน

Internet
อินเตอร์เน็ต (Internet) เราเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องที่อยู่ระยะไกล ๆ ได้ทั่วโลก การสื่อสารที่ สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอย่างกว้างขวางได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ อาจจะเรียกกันอีกชื่อว่า ระบบใยแมงมุม (WORLD WIDE WEB หรือ WWW) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง ในตอนแรกนั้นอินเตอร์เน็ตเริ่มมาจาก เครือข่าย อาร์พาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Project Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา กับมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัย และต่อมาได้ขยายไปยัง มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้น ทางการทหารของสหรัฐจึงขอแยกตัวออกไปกลายเป็น เครือข่าว Millet Military Network แต่ก็ยังคงเชื่อมต่อกับเครือข่ายอาร์พาเน็ต ด้วยเทคนิคการโต้ตอบด้วย IP (Internet Protocol) ที่เรียกว่า TCP/IP และต่อมาก็ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูกกับสหรัฐอเมริกา จนมีการเชื่อมต่อ กันด้วยระบบ "Internet Protocol" จนกลายเป็นอินเตอร์เน็ตอยู่ในปัจจุบันนี้ และเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้วนี่เอง

Intranet
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ก็คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันภายในพื้นที่ หรือองค์กรเดียวกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า ระบบ LAN (Local Area Network) ซึ่งจะใช้กันภายในองค์กรต่าง ๆ เช่น อาจจะมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน หรือบริการ รับฝากข้อความ (E-mail) หรือฐานข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งไม่ได้ติดต่อกับภายนอกและต่อระบบ Lan ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ เครือข่ายวงกว้าง หรือระบบ Wan (Wide Area Network) ที่ใช้ในต่างพื้นที่กัน แต่ว่ามีข้อจำกัดเรื่องของสายสัญญาณภายใน ที่ใช้ต่อในแต่ละจุด ยิ่งจุดที่เชื่อมต่อไกลมาก ก็ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงและในปัจจุบันนนี้ระบบอินทราเน็ตนั้นก็ได้มีการเชื่อมต่อเข้า กับ ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีเครื่องอยู่ในระยะไกล ๆ กัน

ISP
ISP (Internet Service Provider) เป็นบริษัทที่ให้การเชื่อมต่อแก่ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกโดยเรียกเก็บค่าชั่วโมงการใช้งานเป็นรายเดือน หรืออาจเป็นแบบ Package ราย 3 เดือน ราย 6 เดือน ก็ได้ เช่น KSC , CS-internet , Ji-net , Internet-Thailand เป็นต้น

Java Script
Java Script นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากภาษา ไลฟ์สคริปตื (LiveScript) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเน็ตสเคป และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป้น ภาษา Java Script อย่างในปัจจุบันนี้ ซึ่ง Java Scipt นั้นได้ใช้งานครั้งแรกใน Netscape Navigator รุ่น 2.0 และพัฒนามาเป็น Java Script 1.3 ใน Netscape Navigator รุ่น 4.0 สำหรับภาษาสคริปต์นั้นมีจุดเด่น กว่าภาษาคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ตรงที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการแปลงภาษา (Compile) และรูปแบบของภาษาก็ง่ายต่อการเขียน เช่น ไม่เข้มงวดเรื่องแปร , ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปร , ไม่ต้องระบุขนาดของอาร์เรย์ ไม่ต้องประกาศฟังก์ชัน และง่ายต่อการ เปลี่ยนแปลงแก้ไข และเพิ่มเติมโปรแกรมในภายหลัง

MIME
MIME (Multipurpose Internet Mail Extensions) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับระบุชนิดของข้อมูล มาตรฐาน MIME ถูกสร้าง ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการส่งไฟล์แนบไปกับอีเมล์ แต่ภายหลังได้ถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ งาน รวมทั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย โดยการ แบ่งชนิดของข้อมูลใน MIME นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ โดยใช้เครื่องหมาย / คั่น เช่น text/plain หมายถึงข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (Text) และเป็นข้อความธรรมดา ส่วน text/html หมายถึง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และเป้นข้อมูล HTML หรือ image/jpg หมายถึงข้อมูลรูปภาพ และเป็นรูปภาพแบบ JPG เป็นต้น การทำงานหลาย ๆ อย่างของเว็บไซต์นั้นขึ้นอยู่กับ MIME เช่น การที่บราวเซอร์ได้รับข้อมูลที่เป็น Plug-in ประเภท application/x-shockwave-flash ก็จะทำการเรียก Plug-in Shockwave Flash ขึ้นมาแทน
Perl
Perl (Practical Extraction And Report Language) ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Larry Wall เพื่อเป็นเครื่องมือ สำหรับการเขียนโปรแกรมในสภาวะแวดล้อมของระบบ Unix โดยเฉพาะ โดยภาษานี้ เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นเหมือนกับ ภาษาชั้นสูงต่าง ๆ โดยลักษณะของภาษา Perl นั้นเป็นภาษาสคริปต์ ดังนั้นการรันสคริปต์จะต้องเรียก ตัวแปลงภาษาแบบ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ของ Perl มาอ่านสคริปต์และแปรคำสั่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการคอมไพล์สคริปตืก่อน จึงสะดวก และง่ายแก่การเขียน นอกจากนี้ภาษา Perl มักจะถูกติดตั้งมาพร้อม ๆ กับเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ในระบบ UNIX อยู่แล้ว จึงมีผู้นิยม นำเอาโปรแกรมภาษา Perl มาเขียนเป็น CGI จำนวนมากจนในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนา Perl บน Dos และ WINDOWS ได้แล้ว

Plug-in
Plug-in เป็นโปรแกรมเสริมที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับ Application ต่าง ๆ รวมทั้งต่อกับบราวเซอร์ด้วยโดยได้นำมาใช้กับ Netscape Navigator 2.0 เป็นครั้งแรก ซึ่ง Plug-in ต่าง ๆ นั้นจะเชื่อมบราวเซอร์กำหนดใน HTML ผ่านทาง API ที่กำหนดไว้ และจะแสดงผลในบราวเซอร์ เช่น Plug-in Shockwave Flash , Quicktime Movie , VRML-3D web เป็นต้น

Protocol
Protocol คือภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอรื โดยเราจะต้องใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันเพื่อที่จะสื่อสารกันระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีโปรโตคอลต่าง ๆ ที่ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยโปรโตคอลที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปได้แก่ TCP/IP , HTTP , FTP , PPP , SLIP ฯลฯ นอกจากนี้ โปรโตคอลยังรวมถึงข้อกำหนดและรูปแบบการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ในระบบอีกด้วย

Script
สคริปต์ (Script) นั้นก็หมายถึงโปรแกรมสั้น ๆ สำหรับจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว โดยสคริปต์นั้นจะแทรกอยู่ในไฟล์ HTML หรืออาจจะแยกออกมาต่างหากก็ได้ ซึ่งสคริปต์นั้นมีทั้งแบบที่ทำงานที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น ASP PHP Perl หรือสคริปต์ ที่ทำงานที่บราวเซอร์ เช่น JavaScript , VBScript โดยสคริปต์ที่ทำงานในฝั่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะเป็นการทำงานตามโปรแกรม ในสคริปต์จนเสร็จแล้วจึงส่งผลลัพท์มายัง บราวเซอร์อีกที ซึ่งส่วนใหญ่ไฟล์พวกนี้จะไม่เป็น *.htm *.html แต่ อาจจะเป็น *.asp *.shtml ส่วนสคริปต์ที่ทำงานฝั่งบราวเซอร์ก็เพื่อลดการทำงานและติดต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ในการตกแต่ง โฮมเพจ จัดการฟอร์มรูปภาพเคลื่อนไหว

Search Engine
เป็นบริการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ต้องมี search engine ก็เพราะว่าปัจจุบันนี้มีเว็บไซต์อยู่บนเครือข่ายนี้หลายร้อยล้านหน้าเลยทีเดียว หากเราจะหาเว็บไซต์สักแห่งหนึ่ง คงไม่ใช่ เรื่องง่ายนัก แต่หากเราใช้บริการของ Search Engine เพียงแค่ใส่ชื่อเรื่องที่เราต้องการ หรือคำสำคัญก็สามารถหา เว็บไซต์ นั้นเจอได้ง่ายดาย เช่น ถ้าเราจะค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับกีฬาเราก็เพียงใส่คำว่า Sport ลงไป เป็นต้น

Server
เซิร์ฟเวอร์ (Server) คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานข้อมูลที่ให้บริการต่าง ๆ กับเครื่องลูกข่าย (Client) โดยเครื่องที่ จะเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปเพื่อที่จะรองรับการทำงานของเครื่องลูกข่ายหลาย ๆ ตัวได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเครือข่ายและจำนวนเครื่องลูกข่ายที่ให้บริการ และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมด้วย เพื่อป้องกันพวกมือบอน แฮกเกอร์ เข้ามารบกวนระบบ

Style Sheet
Style Sheet เป็นคำใช้เรียกรวม ๆ ของ Style Sheet หลาย ๆ มาตรฐานด้วยกัน แต่ที่ W3C.COM แนะนำก็คือ CSS (Cascading Style Sheets) หรือ JSSS (JavaScript Style Sheet) จาก Netscape ซึ่งในอนาคตนั้น W3C.COM กำลังจะให้ XSL (Style Sheet Language) เป็น Style Sheet มาตรฐานของข้อมูล XML โดยลักษณะ Style Sheet ก็คือการกำหนดรูปแบบ การแสดงผลของข้อมูลโดยตรง เช่น กำหนดสีตัวอักษร Hyperlink ตั้งเอกสาร เราก็สามารถกระทำได้ ซึ่งจะทำให้เราสะดวก เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงภายหลัง โดยที่ Style Sheet นั้น จะแทรกอยู่ระหว่าง แท็ก <HEAD>...</HEAD> ตัวอย่าง Style sheet <STYLE type="text/css"> A:link {color:"#003399";} A:visited {color:"#0088FF";} A:hover {color:"red";} </STYLE> ในตัวอย่างก็จะเป็นการกำหนดสีของ Hyperlink สีของ Hover (สีเวลาที่เราคลิก Hyperlink) และสีของ Hyperlink ที่เรียกดูแล้ว

TCP/IP
อินเตอร์เน็ตนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันโดยโปรโตคอลของ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งใช้รับส่งข้อมูลผ่านทางอินเตอรืเน็ต โดยจะทำาการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่าแพ็คเกจ (Package) จากนั้น ข้อมูลแต่ละแพ็คเกจก็จะถูกส่งไปยังปลายทาง โดยไม่จำเป็นต้องไปในเส้นทางเดียวกันทั้งหมดที่ปลายทาง แพ็คเกจที่มาถึง ทั้งหมดก็จะถูกนำกลับมาประกอบเข้ากันใหม่อีกครั้ง ซึ่งหากมีการสูญหายของแพ็คเกจระหว่างส่งโปรโตคอล TCP/IP จะสั่ง ให้มีการส่งแพ็คเกจนั้นซ้ำใหม่

Telnet
Telnet เป็นการขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งการใช้ Telnet เราสามารถใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ปลายทางที่ขอใช้ได้เหมือนกับเครื่องที่บ้านเราเอง ซึ่งเราจำเป็นจะต้องมีชื่อบัญชีผู้ใช้ในเครื่องที่ขอใช้ และการ ทำงานส่วนใหญ่จะใช้คำสั่งในระบบปฏิบัติการ Unix

URL
URL (Uniform Resource Location) คือที่อยู่หน้าเว็บเพจ สามารถดูได้จากแถบที่อยู่ทุกครั้งที่เปิดหน้าเว็บ ปกติแล้ว URL จะเป็นกลุ่มของตัวอักษร เช่น http://www.geocities.com/siamsix แต่เราสามารถใส่ตัวเลขลงไปได้ เช่น 202.150.8.92 และใน URL นั้นจะใช้"/" จะไม่ใช่"" เหมือนการอ้างอิงพาร์ในเครื่องเช่น C:WINDOWS ทำให้อาจจะพิมพ์ผิดได้ และ URL นั้นจะแยก ตัวอักษรใหญ่ และเล็กของชื่อไฟล์ เช่น INDEX.html กับ index.html นั้นเป็นคนละไฟล์กัน

VRML
VRML (Virtual Reality Modeling Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสร้างโลก 3 มิติ โดยที่ VRML นั้นก็เป็นไฟล ์เอกสารธรรมดา เช่นเดียวกับไฟล์ HTML แต่จะเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับสร้างออบเจ็กต์ต่าง ๆ ในโลก 3 มิติ การใช้งาน VRML นั้นสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น แสดงโมเลกุลของสารเคมีต่าง ๆ หรือตัวอย่างสิ่งของที่สามารถหมุนดูได้ 360 องศา แต่ว่า VRML นั้นไม่มีการกำหนดการรับข้อมูลเป็น 3 มิติไว้ในมาตรฐาน ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงผลได้ทั้งอุปกรณ์ 2 มิติ หรือใช้อุปกรณืโลกเสมือนก็ได้ ซึ่ง VRML นั้นอาจจะเทียบได้กับไฟล์ข้อมูลของ 3D Studio นั่นเอง ซึ่งต่างกับการใช้หมวกหรือ แว่น 3 มิติ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ข้อมูล VRML นั้นสามารถแสดงบนบราวเซอร์ได้โดยใช้ Plug-in นอกจากนั้น VRML นั้นสามารถทำสคริปต์ด้วย Java Script ให้เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ได้

XML
XML (EXtensible Markub Language) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ แต่มีข้อแตกต่างกับ HTML ที่เป็น Markup Language โดยที่ XML นั้นได้ถูกพัฒนามาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการกำหนดการแสดง ผลเอกสาร สำหรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่ง HTML นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ SGML และคำสั่งหรือแท็กที่ใช้ในเอกสาร จะถูกกำหนดมาตรฐาน DTD (Document Type Definition) ซึ่งเป็นภาษาที่สำหรับกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของแท็กได้ เช่น พารามิเตอร์ของแท็ก เป็นต้น การใช้งาน XML นั้น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ Style Sheet หรือมาตรฐานอื่น ๆ เพราะ XML เพียงแต่กำหนดรูปแบบของแท็ก แต่ไม่ได้กำหนดว่าแท็กใจะแสดงผลแบบใด เพราะเมื่อเอาข้อมูลในรูปแบบ XML ไปแสดงผล ในอุปกรณ์ชนิดใด ก็จะต้องใช้วิธีแสดงผลของอุปกรณ์นั้น เช่น ใช้มาตรฐาน SMIL สำหรับข้อมูลมัลติมีเดียว หรือใช้ Style Sheet XSL สำหรับการแสดงผลในบราวเซอร์ นอกจากนี้ XML ยังสนับสนุนตัวอักษรภาษานานาชาติ โดยใช้มาตรฐาน ISO 10646 โดยจุดมุ่งหมายของภาษา XML นั้นก็คือภาษาเรียบง่าย มีคำสั่งน้อยที่สุด และสามารถเขียนได้ด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text Editor) ได้ และสนับสนุนแอพพลิเคชันหลาย ๆ ชนิด และในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีการพัฒนาภาษา Markup ตามข้อกำหนดของ XML แล้ว เช่น SMIL สำหรับควบคุมข้อมูลมัลติมีเดีย

WAP
WAP (Wireless Application Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสาร และถ่ายโอนข้อมูลในระบบของอุปกรณ์ สื่อสารไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ , PDA หรือเครื่อง Palm เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้บริการต่าง ๆ ผ่าน อินเตอร์เน็ตได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Website
เว็บไซต์ นั้นเป็นคำที่ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู่ที่มีเว็บเป็นของตัวเองบนอินเตอร์เน็ต หรือก็คือ เว็บเพจทั้งหมด ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ตของเรานั่นเอง ซึ่งจะได้จากการที่เราลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าบริการพื้นที่ใน อินเตอร์เน็ตหรือพื้นที่ฟรีต่าง ๆ จากนั้นก็ทำการ Upload ไฟล์ของโฮมเพจของเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานรัฐบาล ภาครัฐ และบริษัทต่าง ๆ ก็มักจะมีเว็บไซต์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็สามารถที่จะมีที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้อย่างสบาย ๆ ซึ่งประโยชน์ของเว็บไซต์ก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ บริการรับส่ง E-mail บริการรับส่งข้อมูลผ่านทางโปรโตคอล FTP และอื่น ๆ

6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
          เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
                       

2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
    เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่
Hotmail  , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือ
องค์กรต่าง ๆ
                                      
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
          Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ     ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot     จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)     ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ
กับ Search Engine
                                     
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
           Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร     พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก  IM  คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ
  
5.Telnet 
        เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
6. FTP (File Transfer Protocol) 
         คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น
รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ

7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
           WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล     และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
http://www.mcp.ac.th/online/internet/1_2.html

5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
     1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
     2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
     3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
     4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
     5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป้นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
     6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้น
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย




4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนร่างแหที่แผ่ไปทั่ว จึงมีจุดที่จะเชื่อมต่อเข้ามาได้มากมายโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่เดิม ซึ่งผู้ที่รับการเชื่อมต่อก็จะต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือรวมถึงค่าสัมปทานจากรัฐ (ขึ้นกับกฎหมายของแต่ละประเทศ ) จึงต้องคิดค่าบริการจากคนที่มาต่อผ่านตามสมควร ผู้ให้บริการเชื่อมต่อนี้ก็คือ ISP นั่นเอง ซึ่งแต่ละรายก็เก็บค่าบริการไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการเชื่อมต่อและเงื่อนไขบริการแก่คนอื่นๆ ฯลฯหรือบางรายก็ให้บริการฟรีแก่ลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษาทำตัวเป็น ISP ให้นักศึกษาในสังกัดใช้อินเทอร์เน็ตฟรี หรือบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรีแก่ลูกค้าที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ของตน เป็นต้น สำหรับ ISP เองนั้นก็ต้องเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เพื่อหาช่องทางที่จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจของตน เช่น ISP รายย่อยในต่างจังหวัดต่อเข้ามาผ่านISP รายใหญ่ในกรุงเทพหรือ ISP ในประเทศต่อออกไปที่ ISP ใหญ่ในต่างประเทศ โดยมีการเก็บค่าบริการกันเป็นทอดๆแล้วแต่ว่าใครจะต่อกับใคร จะต่อหลายทางพร้อมๆกันเพื่อเพิ่มความเร็วและเป็นช่องทางสำรองก็ได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งการดำเนินงานของ ISP ในต่างประเทศเองก็ไม่ผูกขาด เพราะมีทำกันหลายๆรายและหากมีลูกค้าผู้ใช้งานมากพอก็อาจมีผู้ลงทุนตั้ง ISP รายใหม่ วางสายและสร้างเครือข่ายเพิ่มได้อีก

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

2.ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความเป็นมาของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต *****อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเริ่มก่อตั้งโดยโครงการของ ARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 อินเทอร์เน็ต ในยุคแรกๆ เป็นเพียงการนำคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่องมาเชื่อมต่อกัน โดยสายส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ****ในปี พ.ศ.2512 ARPAnet ได้เปลี่ยนชื่อเป็น DARPA (Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง เช่น ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.2518 จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลองเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ****พ.ศ.2526 DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal)มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ดังนั้น TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง ****พ.ศ.2529 ได้มีการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) ขึ้น เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย โดยให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.edtechno.com จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บทั้งหมด เป็นต้น ****พ.ศ.2533 DARPA ได้ให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐาน เหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป ต่อมาอาร์ปาเนตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นหลัก (Backbone) ของระบบได้ อาร์ปาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้โดยเรียกเครือข่ายว่าอินเทอร์เน็ตโดยเครือข่าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาและปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากมายทั่วโลก (http://www.thaiall.com) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ****พ.ศ. 2534 เป็นปีที่มีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายเป็นสายความเร็วสูงต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ของ บริษัทเอกชนที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้ขอเชื่อมต่อผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเรียกเครือข่ายนี้ว่า"ไทยเน็ต" (THAInet) นับเป็นเกตเวย์(Gateway) แรกสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสากลของประเทศไทย ****ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) ได้จัดตั้งกลุ่มเครือข่าย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เรียกว่า เครือข่าย"ไทยสาร" ต่อเชื่อมกับเครือข่าย UUNET ด้วยนับเป็นเกตเวย์สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งที่สอง (จักรพงษ์ เจือจันทร์.2543)

1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ